วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การทำน้ำยาล้างจาน

น้ำยาล้างจาน เป็น สารเคมีที่ได้จากส่วนผสม ที่ เป็นสารมีขั้ว น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของ
สารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจาน เนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่นน้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม

สารเคมีและองค์ประกอบ

ส่วนประกอบ

1.N 70 1 กก.
2.น้ำเกลือ 2 ลิตร
3.กรดมะนาว 10 กรัม
4.สีเหลือง ปลายช้อนชา
5.น้ำหอม 10 CC.
6.สารกันเสีย 10 CC.
7.น้ำด่าง 7-8 ลิตร

ปล. N 70 มาจาก Texapon มีชื่อทางเคมีว่า SODIUM lAURYLETHER SULFATE เป็นสารประเภท สารลดแรงตึงผิวประจุลบ

คุณสมบัติ

ืคือเป็นสารชำระล้าง คือ สารที่สามารถ นำเอาอนุภาค ที่ติดฝังอยู่ ที่ภาชนะหรือสิ่งของ ที่ต้องการจะนำเอาออกไปโดยใช้หลัก การดึงระหว่างสารขั้วบวกและขั้วลบ

ส่วนผสมต่างๆเหล่านี้สอบถามได้ที่ ธกส.แต่ละจังหวัด หรือร้านเคมีภัณฑ์ที่จำหน่ายส่งยาสระผม น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างจาน เพราะจะมีส่วนผสมต่างๆเหล่านี้จำหน่ายค่ะ







เศรษฐกิจพอเพียง

พ่อของแผ่นดิน คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น

การทำน้ำยาอเนกประสงค์ชีวภาพอัญชัน
ใช้ซักผ้า-ล้างจาน-อาบ-ล้างหน้าวันก่อนน้ำยาซักผ้าหมดพอดี จึงได้ทำใหม่ สูตรนี้เราทำแบบพอเพียงคือค่าใช้จ่ายน้อย ไม่เกิน 100 บาท ทำได้ประมาณ 8-10 ลิตรสามารถนำไปใช้ล้างจาน ซักผ้า ล้างหน้า หรืออาบน้ำ ได้ ประหยัดได้หลายทาง แต่ขอบอกก่อนว่าสูตรนี้ไม่มีกลิ่นน้ำหอมเนื่องจากเราเน้นเรื่องความพอเพียง
และหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ไม่จำเป็น ลองคำนวณการลดค่าใช้จ่ายดูเช่น

1. ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำยาล้างจาน
2. ไม่ต้องจ่ายค่าสบู่อาบน้ำ (ใช้แล้วผิวนุ่มกว่าใช้สบู่)
3. ลดการจ่ายค่าน้ำยาซักผ้าเดือนละ 300 บาท เหลือเพียง 100 บาท
ได้น้ำยาประมาณ 12 ลิตร รวมแล้วต่อเดือนเราจะประหยัดเงินได้เกือบ 400 บาทเชียวนะ
ส่วนผสมคือ1. ตัวน้ำยาซักผ้าหรือซักล้างใช้สาร N 70 ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท
2. เกลือเพื่อใช้ปรับความหนืดความข้น ความเหลวของน้ำยาประมาณ 1 ก.ก. (12 บาท)

3. น้ำชีวภาพอัญชันที่เราหมักได้จากการแนะนำคราวที่แล้ว สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย และให้สีสวย โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด ประมาณ 1 แก้ว (ขวดน้ำผลไม้ 250 มล.) 4. น้ำเปล่า 8-10 ลิตร
ขั้นตอนการทำ1. เตรียมส่วนผสมทั้ง 4 อย่าง
2. เท N 70 ใส่ลงในถังใช้ไม้พายคนเบาๆไปทางเดียวกัน ให้ขึ้นขาวฟู ถ้าหนืดเกินไป รู้สึกหนักมือให้ค่อยๆโรยเกลือลงไป (หรืออาจผสมน้ำเกลือใช้แทนได้)
3. จากนั้นค่อยๆใส่น้ำชีวภาพอัญชันเพื่อให้มีสีสวยงาม
4. ทีนี้ก็ทำสลับกันเรื่อย ถ้าหนืดเหนียวให้เติมเกลือ แล้วเติมน้ำ ถ้าเหลวไปจากการเติมน้ำมากก็เติมเกลือ จะทำให้หนืดข้นเช่นเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนส่วนผสมที่เตรียมไว้หมด
สุดท้ายตรวจดูความเหลวตรงความพอใจของเรา ทิ้งไว้ 1 คืนอาจทำให้หนืดขึ้นอีกเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว รุ่งเช้าน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้ จะใสและไม่มีฟอง จากนั้นให้เรากรอกใส่ภาชนะที่ต้องการเก็บไว้ใช้ เราจะได้น้ำยาสีสวย สีม่วง-อมชมพู
จากการใช้มาอย่างต่อเนื่อง น้ำยาอเนกประสงค์อัญชันจะมีการเปลี่ยนสีเนื่องจากเราไม่ใส่ผงสีในขั้นตอนการทำ
ดังนั้นสีจึงซีดง่ายกลาย
เป็นสีขาว
วิธีการแก้ไข : ผู้เขียนเติมหัวเชื้อชีวภาพอัญชันที่หมักไว้ลงไป 1 หยดหรือมากกว่า แล้วแต่ชอบ เขย่าให้เข้ากัน ก็ได้สีสวยดังเดิม
สรุปเปรียบเทียบ - จากการใช้ได้เห็นความแตกต่างคือ
- หากลืมตากผ้าในทันที ทิ้งไว้หลายชั่วโมง ผ้าก็ไม่เหม็นทั้งนี้เนื่องจากน้ำชีวภาพอัญชัน
มีสรรพคุณดับกลิ่น กำจัดแบคทีเรีย/จุลินทรีย์ตัวร้าย
- เมื่อใช้ล้างจาน มือจะไม่ลอกเป็นขุยเหมือนใช้น้ำยาล้างจานตามท้องตลาด เนื่องจากเราไม่ใช้สารขจัดคราบ หากในบางจุดของภาชนะยังมี
ความมันอยู่ ให้เทน้ำยาชีวภาพอัญชันลงไป แล้วล้างเฉพาะที่ ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง จะพบว่าขจัดความมันได้ดี



น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจาน เนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม

 ข้อเสียของน้ำยาล้างจาน

ฟองของน้ำยาล้างจานเป็นสิ่งปิดกั้นบนผิวน้ำ ทำให้ออกซิเจนในอากาศละลายน้ำไม่ได้ และกั้นไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องลงไปใต้ผิวน้ำ พืชน้ำก็จะไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตในน้ำขาดออกซิเจนก็จะตายลง และเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงจะส่งผลทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนั้น สารเคมีบางชนิดในน้ำยาล้างจานอาจเป็นอันตรายกับทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำ และยังอาจทำให้ผิวของเราระคายเคืองบ้างเล็กน้อย

กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ไหม Crescendo Official MV

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โอ้โหไม้ไผ่

บทความเรื่อง
ไผ่เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีหลายชนิดหลายสาย
พันธุ์ เป็นพืชโบราณชนิดหนึ่งที่คนไทยรู้จักและนำมาใช้งาน เมื่อก่อนก็ไปหาตัดจากป่า เดี๋ยวนี้ไผ่ในป่าชักจะหมด มี
การปลูกกันเดิมก็ปลูกไว้หัวไร่ปลายนา ถัดมาปลูกเป็นแนวรั้วกันลมกันไฟให้สวนและบ้านเรือน จนปลูกกันเป็นพืช
เศรษฐกิจเป็นสิบยี่สิบไร่ โดยแยกประโยชน์ที่จะนำไปใช้ เช่น ด้านอุตสาหกรรม ด้านบริโภค ด้านหัตถกรรม เป็นต้น
เมื่อหลายวันก่อน เจอข่าวว่าไทยนำเข้าไม้ไผ่จากกัมพูชาประเทศข้างบ้านผ่านเขาปราสาทพระวิหารที่รู้จักกันนั่น
แหละ แรกนึกว่านำเข้ามาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทำกระดาษไม่ใช่เขานำเข้ามาทำ
ชอบรสชาติข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง คงจะพอมองออก ไก่ย่างถ้าเป็นตัวหรือเป็นซีกจะใช้ไม่ไผ่ตัดยาว ๆ ผ่าปลายคีบ
ไก่ที่หมักเครื่องแล้วปิ้งไฟ
ใช้ได้อีก แต่ด้านโภชนาการเขาไม่ทำกัน เคยซื้อทั้งไม้มากินที่บ้านโดยชอบฉีกกิน สุดท้ายก็ต้องทิ้งไม้ไป จะเห็นว่า ถ้า
ปิ้งหรือย่างไก่ ๑ ชิ้นใช้ไม่ไผ่ ๑ ชิ้น แล้วทั่วปะเทศก็จะใช้วันละหลายล้านชิ้นใช้เยอะเชียวนะ อีกธุรกิจหนึ่งใช้ไม้ไผ่เยอะ
คือ
ยิ่งหนักกว่าไก่ย่างอีก แล้วข้าวหลามเป็นอาหารไทยที่มีกินกันทุกภาค ไหนว่าคนภาคอื่นไม่กินข้าวเหนียวไงละ
หนึ่งจำได้ว่ามีการส่งข้าวหลามไปช่วยประชาชนที่ประสบภัยธรรมชาติต่างประเทศดูเหมือนจะเป็นญี่ปุ่นหรือไต้หวันนั่น
แหละ เพราะข้าวหลามเก็บไว้กินได้หลายวัน เป็นอาหารประจำชาติไทยที่ผลิตจากภูมิปัญญาไทยแท้ จนเป็นธุรกิจ
ใหญ่โตมโหฬารเดี๋ยวนี้
ไม้ไผ่มีหลายพันธุ์หลายชนิด ไผ่โบราณที่รู้จักกันในหมู่นักบริโภค คือ
รสขมขื่น ต้องต้มเคี่ยวนาน ๆ ใส่น้ำคั้นใบย่านางเยอะ ๆ คนเหนือ อีสานชอบมาก ทำแกงเปอะใส่ปลาร้า น้ำปู ไม้ไผ่
ไร่ใช้ทำค้างต้นบวบ ถั่วฝักยาว ทนมากหลายฤดู แต่ต้องไปตัดจากป่ามาใช้
ตัดต้นยากมากเพราะเต็มไปด้วยหนามแหลม เคยมีคนหนีตำรวจวิ่งเข้ากอไผ่สีสุกหลบพ้นไม่ถูกจับกุมแต่ออกไม่ได้ ข่าว
ว่าเสือยังไม่กล้าเข้าเลยหนามใหญ่แหลมคมพันกันทั้งกอ แต่หน่อไผ่สีสุกอร่อยมาก ลองหามากินกันดู
ไผ่ไม้สารพัดประโยชน์ ขว.๐๑/๒๕๕๔ไม้ย่างไก่ดูจริง ๆ แล้ว ท่านที่(ย่าง) ถ้าซื้อก็จะถอดสับ ๆๆ ใส่จานหรือถุงให้ ที่จริงแล้วไม้ไผ่ที่ใช้ย่างไก่น่าจะนำกลับมาข้าวหลามลองมีใครคิดทำข้าวหลามโดยไม่ใช้กระบอกไม้ไผ่ดู จะมีคนกินไหมนะนี่ ข้าวหลามใช้ไม้ไผ่เป็นปล้องๆ?มีอยู่สมัยไผ่ไร่ เป็นไผ่ขนาดเล็ก หน่อไม้เล็ก แข็งไผ่สีสุก เป็นไม้ไผ่ขนาดใหญ่ กอใหญ่
ไผ่รวก
ช่อน ปลากระดี่มาแกงส้ม ขลังมาก
เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นตรงสวยมาก ปลายไผ่รวกนำมาทำคันเบ็ดที่เรียกคันหลิว ตกปลาหมอ ปลา!! ที่จังหวัดน่านปลูกกันมากเป็นไผ่เศรษฐกิจส่งชาวทะเลไปทำหลักเลี้ยงหอยแมลงภู่
ไผ่ตง
ตงหนู ตงเขียว และตงหม้อหรือไผ่ยักษ์ไจแอ้น จีนเรียก
ขนมบ๊ะจ่างทำให้มีกลิ่นหอม และสุดยอดฮิตขณะนี่ คือ
ตะเกียบ ก้านธูป ทำเฟอร์นิเจอร์ อีกสารพัด ขอเชิญชวนกันปลูกไผ่ไว้เยอะ ๆ จะได้ทั้งสร้างภูมิอากาศลดโลกร้อน
เศรษฐกิจ และอาหารไม่อดตายแน่ๆ


 





เป็นไผ่เศรษฐกิจตัวเอ้ ใช้ประโยชน์ทั้งต้นทั้งหน่อ โดยเฉพาะหน่อไผ่ตง คนนิยมต้มจืดกระดูกหมูมากมีทั้งตงดำหมิงซุ้งทำไผ่แห้งเก็บใส่โหลไว้กินได้นาน ๆ ใบใช้ห่อไผ่ซาง มีประโยชน์เหลือหลาย ไม้เสียบลูกชิ้น ไม้จิ้มฟัน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับไผ่

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับไผ่

แก้ริดสีดวงทวารด้วยไผ่รวก
ปัจจุบันคนรุ่น ใหม่น้อยคนนักที่จะรู้จัก “ไผ่รวก” เพราะส่วนใหญ่จะนิยมปลูกในบริเวณบ้านตาม ชนบทที่ห่างไกลความเจริญจริง ๆ เพื่อเก็บหน่อรับประทานเป็นอาหารและต้นใช้ ประโยชน์ในการก่อสร้างทำเครื่องใช้หลายอย่าง ส่วนที่เรียก “ไผ่รวก” มาจาก ช่วงฤดูฝน “ไผ่รวก” ที่มีขึ้นตามป่าจะแตกหน่อขึ้นมามากมาย ชาวบ้านจะขึ้นไป เก็บเอาหน่อไปต้มหรือลวกให้สุกก่อนนำลงไปขายในตลาดตัวเมือง จึงเรียก ว่า “ไผ่รวก” ซึ่งนอกจากหน่อไม้ “ไผ่รวก” จะปรุงอาหารได้หลายอย่างแล้ว บาง ส่วนยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย เช่น รากต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะได้
สรรพคุณทางยาของไผ่รวก :

“ไผ่รวก” ยังใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารได้ด้วย โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มเป็นหรือเป็นใหม่ ๆจะรักษาให้หายได้ มีวิธีง่าย ๆ คือ เอาต้น “ไผ่รวก” แก่หรืออ่อนก็ได้ กับราก จำนวนเท่ากัน แบบสดใช้มากหน่อย แบบแห้งจำนวน 50 กรัม ต้มกับน้ำในหม้อดินดื่มขณะอุ่นแทนน้ำชาทุกวัน โดยดื่มจนยาจืดแล้วเปลี่ยนยาใหม่ ดื่มไปประมาณ 15 วัน อาการจะดีขึ้นและหายได้ ส่วนคนที่เป็นริดสีดวงทวารมานานแล้วอาจช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่หายขาด
การรักษาโรคภูมิแพ้แบบพื้นบ้านด้วยถ่านไม้ไผ่
ในช่วงที่สภาพ อากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย หลายๆ ท่านอาจจะเจอกับปัญหาโรคภูมิแพ้   วันนี้ คุณเซิง เกษตรกรผู้ทำสวนผสมผสาน  มีเทคนิคดีๆ  เกี่ยวกับการนำสิ่งที่มีอยู่ ในพื้นที่มาใช้รักรักษาโรคภูมิแพ้ โดยการใช้ถ่านไม้ไผ่ มารักษาดังนี้


1.นำถ่านไม้ไผ่มาสับให้ละเอียด
2.ผสมน้ำร้อนแล้วคนให้เข้ากัน
3.ผสมน้ำเย็นเล็กน้อย
4.ใช้ดื่มได้ทันที

*** แค่วิธีการง่ายๆ นี้ก็สามารถแก้โรคภูมิแพ้ ซึ่งถ่านไม้ไผ่จะช่วยในการดูดซึมสารพิษในร่างกายได้ดี