วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของกล้วย

กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ อาทิเช่น มีวิตามิน ไฟเบอร์ ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า Escherichia coli ที่เชื่อว่าทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ เป็นต้น ซึ่งกล้วยหอมได้ถูกจัดว่าเป็นผลไม้ของเขตเมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทยสามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่สำหรับปลูกกล้วยหอมอยู่ประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ ไร่ (ผลการสำรวจปี พ.ศ. ๒๕๒๙) โดยพบว่าภาคที่มีการปลูกกล้วยหอมมากที่สุดได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ภาคใต้ แต่ภาคใต้ และภาคตะวันออก จะเน้นปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้า

ประโยชน์
กล้วยหอมสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น

  • ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล ราก ยางกล้วยจากใบ เปลือกกล้วยหอม
    1. ผล ขับปัสสาวะ
    2. ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
    3. ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย สมานแผลในกระเพาะอาหาร
    4. ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุรา ของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม 1-2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้
    5. ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
    6. เปลือกกล้วยหอม สามารถลดอาการคันหรือบวม จากบริเวณที่ถูกยุงกัดได้ โดยใช้เปลือกด้านใน หรือการนำเปลือกกล้วยหอมมาด้มน้ำดื่ม พบว่าสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ พบว่า หากเราใช้ด้านในของเปลือกกล้วยหอมสุก ถูเบาๆ บริเวณที่มีรอยหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จะทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้น รอยหยาบกร้านจางหายไป

  • ส่วนที่ใช้ในงานฝีมือ ห่ออาหาร เลี้ยงสัตว์ : ลำต้น ใบ
    1. ลำต้น ใช้เป็นฐานกระทง หรือใช้หั่นเลี้ยงสัตว์
    2. ใบ ใช้ห่ออาหาร หรือประดิษฐ์ประดอยในงานฝีมือ
         ส่วนที่ใช้ด้านการเกษตร : เปลือกกล้วยหอม
  1. นำเปลือกกล้วยหอมวางไว้รอบๆ โคนต้นกุหลาบ แล้วโกยดินทับประมาณ 1 นิ้ว จะช่วยให้กุหลาบแตกกิ่งเร็วขึ้น

ความเชื่อ
  1. หญิงที่มีครรภ์ห้ามรับประทานกล้วยแฝด เพราะมีความเชื่อว่าจะได้ลูกแฝด แต่เมื่อใดที่อยากมีลูกแฝดก็ให้รับประทานกล้วยแฝดได้
  2. หญิงที่เพิ่งคลอดลูก หรือแม่ลูกอ่อน ให้รับประทานแกงหัวปลี จะทำให้มีน้ำนมมาก ตามหลักวิทยาศาสตร์พบว่าหัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมากเพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตร
  3. ในด้านยาอายุวัฒนะ นำกล้วยแช่น้ำผึ้ง ปิดไห แล้วใช้ปูนแดงทาก่อนปิดฝา จากนั้นเอาไว้ใต้ฐานพระในวันเข้าพรรษา ปล่อยไว้นานสามเดือน ก็สามารถนำมารับประทานได้
  4. ในงานมงคลมักมีกล้วยเข้ามาร่วมเกี่ยวในพิธีด้วย เช่น กล้วยทั้งเครือ กล้วยดิบ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง และความสงบร่มเย็น
  5. ในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคฝีดาษ มีแผลพุพอง จะให้นอนบนใบกล้วยเพราะจะทำให้น้ำเหลืองไม่ติดกับเสื้อผ้า






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น