วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอสร้างชาติ







วิธีการทำมะละกอแช่อิ่ม
1. นำมะละกอที่เกือบสุก และมีเนื้อแน่นมาล้างด้วยน้ำให้สะอาด
2. ปอกเปลือกออกโดยใช้มีดสแตนเลสและตัดให้เป็นชิ้นขนาด 5 x 2 x 1 ซม. แล้วฝานเอาเมล็ดและไส้ออกด้วยมีดสแตนเลส
3. ล้างชิ้นมะละกอด้วยน้ำให้สะอาด ทำให้สะเด็ดน้ำบนตะแกรง หรือกระด้งตาห่าง
4. แช่ในสารละลายของกรดมะนาวเข้มข้นร้อยละ 0.5 (ใช้กรดมะนาว 5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลา 10-15 นาที ล้างด้วยน้ำให้สะอาดและทำให้สะเด็ดน้ำบนกระด้ง หรือตะแกรงสแตนเลส

5. แช่ในสารละลายแคลเซี่ยมคลอไรด์เข้มข้นร้อยละ 0.5 (ใช้แคลเซียมคลอไรด์ 5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลา 15-20 นาที ล้างด้วยน้ำให้สะอาด และทำให้สะเด็ดน้ำบนกระด้ง หรือตะแกรงสแตนเลส
6. ต้มในน้ำเดือด หรือนึ่งอบไอน้ำด้วยรังถึงที่อุณหภูมิ 100 ํ ซ. เป็นเวลา 5 นาที จนกระทั่งเนื้อมะละกอนิ่ม
7. การแช่น้ำเชื่อม และขั้นตอนต่าง ๆ ก็ทำเช่นเดียวกันกับ สับปะรด จนกระทั่งได้มะละกอแช่อิ่ม
8. นำมาวางเรียงบนถาดโปร่ง และตากแห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 50 ํ - 60 ํ ซ. เป็นเวลา 4-4 1/2 ชั่วโมง หรือใช้แสงแดดจนกระทั่งผิวของมะละกอแช่อิ่มแห้ง และไม่เหนียวติดมือ
9. ทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิห้อง (30 ํ ซ.) แล้วทำการบรรจุ เช่นเดียวกันกับสับปะรด จะได้มะละกอแช่อิ่มแห้ง มีความชื้นร้อยละ 16-20
 
 
 
 
 
 
 

ประโยชน์ของมะละกอ สรรพคุณและการใช้ประโยชน์จากมะละกอ (Papaya)

มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน

มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว

ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น